สาขาที่เปิดสอน มี 2 หลักสูตร ดังนี้
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาเตรียมวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรภาษาไทย) เปิดรับ 3 ห้อง ประมาณห้องละ 35 คน
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาเตรียมวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรภาษาอังกฤษ EP)เปิดรับ 1 ห้อง ประมาณห้องละ 35 คน
    สายอาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธา
    บุคลิกภาพของผู้เรียน ช่างคิด ชอบประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งต่างๆ สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรม .ชอบคำนวณ การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์ และ คณิตศาสตร์ มีลักษณะความเป็นผู้นำ .ความสามารถวางแผน และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ยึดมั่นในหลักเหตุและผล
    สาขาวิศวกรรมโยธา สร้างวิศวกรที่มีความสามารถในการออกแบบ วิเคราะห์ และควบคุม งานในสาขาวิศวกรรมโยธา ซึ่งเป็นงานที่มีผล กระทบต่อสังคมสูง ครอบคลุมความรู้หลายแขนง อาทิเช่น วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และรวมถึง การบริหารงานก่อสร้าง
    โอกาสทางวิชาชีพ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเป็นสาขาหนึ่งในงานวิศวกรรมควบคุม ซึ่งผู้จะทำงานทางด้านวิศวกรรมโยธาได้ต้องได้รับใบอนุญาตวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร ซึ่งจะได้รับใบอนุญาตก็ต่อเมื่อจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และสอบผ่านเกณฑ์ของสภาวิศวกร อาชีพที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้วิศวกรโยธา มีทั้งงานในภาครัฐและเอกชน เช่นการเป็นผู้ออกแบบ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การเป็นผู้ตรวจสอบหรือควบคุมงานก่อสร้าง หรือเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานในสาขาวิศวกรรมโยธามีแขนงย่อยลงไปอีกหลายแขนง ประกอบด้วย
    แขนงวิศวกรรมโครงสร้าง (structural engineering)
    แขนงการบริหารงานก่อสร้าง (construction management)
    แขนงวิศวกรรมปฐพี (soil engineering หรือ geotechnical engineering)
    แขนงวิศวกรรมแหล่งน้ำ (water resource engineering) หรือวิศวกรรมชลประทาน (irrigation engineering)
    แขนงวิศวกรรมขนส่ง (transpotation engineering)
    แขนงวิศวกรรมสำรวจ (survey engineering)
    แขนงวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (environmental engineering)
    ดังนั้น วิศวกรโยธามีโอกาสเลือกเข้าไปทำงานอยู่ในส่วนงานต่างๆที่หลากหลายไม่จำกัดแค่งานก่อสร้างเท่านั้น ถือได้ว่าโอกาสในการทำงานจริงแล้วมีไม่น้อย เพียงแต่ผู้เรียนทางสาขานี้ต้องแสวงหาความรู้และติดตามข่าวสารต่อเนื่องเปิดโอกาสของตนเองให้กว้างขึ้น
    หน่วยงานที่ต้องการวิศวกรโยธาในงานหลัก:
    ภาครัฐ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมที่ดิน กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ รวมทั้งหน่วยงานในส่วนการปกครองท้องถิ่น อบต. อบจ. เทศบาล เป็นต้น รัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การประปา ปตท. เป็นต้น ภาคเอกชน เช่น บริษัทรับเหมาก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษาและออกแบบ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหรือหน่วยงานบริการทางเทคนิค เช่น งานสนับสนุนการขาย งานบริการทดสอบที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
    โอกาสทางการศึกษา หรือ โอกาสในการทำงาน วิศวกรงานระบบในโรงงานและอาคาร ทั้งในฐานะผู้ออกแบบควบคุมการติดตั้ง หรือ บริหารการใช้งาน ในระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ สื่อสารโทรคมนาคม ระบบควบคุมอัตโนมัติ รวมถึงระบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม วิศวกรสนามในโครงการการก่อสร้างหรือผู้ออกแบบ โครงสร้างอาคาร ระบบขนส่ง รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมของเมือง วิศวกรควบคุมออกแบบและบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม หรือธุรกิจวิศวกรรมอื่น ๆ ผู้ออกแบบ หรือ บริหารควบคุมการใช้งาน เครื่องจักรอุปกรณ์ เช่น ยานยนต์ เครื่องจักรการผลิต ระบบอาคารสถาน ฯลฯ นอกจากการเป็นวิศวกรในสาขาต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว พื้นฐานทางด้าน วิศวกรรมยังสามารถใช้ในการประกอบวิชาชีพอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น นักประดิษฐ์ ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม รวมถึงตำแหน่งงานอื่น ๆ ทั้ง ภาครัฐและเอกชน

    อาจารย์ประจำสาขาเตรียมวิศวกรรมโยธา

    อาจารย์บัณฑิต พลเพียร
    อาจารย์ประจำหลักสูตร

    อาจารย์ประสพโชค ทองประสิทธิ์

    อาจารย์ประจำหลักสูตร

    อาจารย์จิรเชษฐ์ ไชยเจริญ

    อาจารย์ประจำหลักสูตร

    อาจารย์ปิยะกรณ์ ยังให้ผล
    อาจารย์ผู้สอน

    อาจารย์ทรงวิทย์ ศรีจันทร์รักษ์
    อาจารย์ผู้สอน

    อาจารย์วิไลลักษณ์ เทพษร
    อาจารย์ผู้สอน

    อาจารย์อภิรักษ์ ภิญโญชีพ
    อาจารย์สัญญาจ้างประจำ

    อาจารย์กรกต ขวัญเมือง
    อาจารย์พิเศษประจำหลักสูตร

    อาจารย์อินทรายุทธ มหาพล
    อาจารย์พิเศษประจำหลักสูตร

    อาจารย์กิตติพงษ์ ม้าลำพอง
    อาจารย์พิเศษประจำหลักสูตร
    รศ. สมบูรณ์ คงสมศักดิ์ศิริ
    (ข้าราชการบำนาญ)
    อาจารย์มาณัติ ภมะราภา
    (ข้าราชการบำนาญ)

    กิจกรรมระหว่างเรียน