โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน
ก่อตั้งขึ้นจากโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และวิชาการระหว่างรัฐบาลไทย กับ รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2502 โดยจัดตั้งเป็น
“โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ” (เทคนิคไทย-เยอรมัน)
เพื่อผลิตช่างฝีมือระบบเยอรมันที่มุ่งเน้นการปฏิบัติและประสบการณ์จริงในโรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยจัดการศึกษา
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ปี พ.ศ. 2507 โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น “วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ” จัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ป.วช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.วส.) รวม 8 สาขาวิชา ปี พ.ศ. 2514 วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี และวิทยาลัยโทรคมนาคม นนทบุรี ได้รวมกันจัดตั้งเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า” ประกอบด้วย 3 วิทยาเขต โดยแต่ละวิทยาเขต มีนามตามสถานที่ตั้งต่อท้ายนามพระราชทาน ดังนั้น วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ จึงเปลี่ยนสถานภาพเป็น “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตพระนครเหนือ” และเพื่อให้การจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะแรกของสถาบันให้บรรลุผล วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือเดิม จึงได้รวมเข้าเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะ วิศวกรรมศาสตร์ ในนาม “ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม” ปี พ.ศ. 2523 ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้แยกออกมาจัดตั้งเป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยี อุตสาหกรรม” จัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ป.วช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง (ป.วส.) รวม 25 สาขาวิชา ปี พ.ศ. 2524 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้พัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ป.วช.) เป็นหลักสูตร “เตรียมวิศวกรรมศาสตร์” ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย และความต้องการของภาคอุตสาหกรรม มี 3 สาขาวิชาได้แก่
- สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- สาขาเครื่องกล
- สาขาโยธา
รูปในอดีตเทคนิคไทย-เยอรมัน